5 เทคนิคในการเอาตัวรอด จากการเดินป่า
เตรียมตัวเองให้พร้อมเดินทาง
โดยเตรียมอุปกรณ์ที่จำเป็นติดตัวไว้ เช่น เชือก อุปกรณ์ปฐมพยาบาล แหล่งกำเนิดแสง ไม่ว่าจะเทียน หรือไฟฉาย และที่สำคัญ คือ ต้องศึกษาเส้นทางเกี่ยวกับสถานที่ที่เราจะเดินทางไป ว่าพื้นที่เป็นอย่างไร เผื่อเวลาที่เกิดสถานการณ์ฉุกเฉินจะได้สามารถเอาตัวรอดได้
แจ้งเจ้าหน้าที่ก่อนเข้าพื้นที่
ก่อนจะเดินทางเข้าไปสำรวจป่า หรือถ้ำ ควรแจ้งเจ้าหน้าที่ที่ดูแลสถานที่ หรืออุทยานเสียก่อน เผื่อในกรณีที่เขานับจำนวนนักท่องเที่ยวไว้ แล้วปรากฏว่าเราหายไปไม่กลับออกมา เจ้าหน้าที่จะได้เริ่มดำเนินการค้นหาได้อย่างทันท่วงที
เมื่อพลัดหลงต้องมีสติ
สิ่งแรกที่ต้องทำ คือ การตั้งสติ ค่อยๆ คิดหาทางแก้ปัญหาไปทีละอย่าง และอย่าแตกตื่นจนเดินพลัดไป เพราะอาจจะทำให้หลงมากกว่าเดิม และจะทำให้การค้นหาเป็นไปอย่างยากลำบาก โดยในกรณีที่ไปสำรวจกันเป็นกลุ่ม พยายามอย่าแตกกลุ่ม ให้อยู่ด้วยกัน เพราะหากแยกออกไปแล้วมีโอกาสที่จะพลัดหลง และหากันไม่เจอ
ขาดอาหารได้ แต่อย่าขาดน้ำ
ตามทฤษฎีควรจะสามารถอยู่ได้มากกว่า 1 เดือน ขึ้นอยู่กับความแข็งแรงของแต่ละบุคคล แต่เนื่องจากร่างกายที่ขาดสารอาหารมักอ่อนแอ จึงมักเสียชีวิตด้วยอาการแทรกซ้อนอื่นๆ โดยลักษณะอาการของคนอดอาหาร คือ หิวจนปวดท้องในวันแรก จากนั้นจิตใจและร่างกายเกิดการเหนื่อยล้า อ่อนเพลียมากขึ้นเรื่อยๆ และหมดสติ ในทางกลับกัน คนเราสามารถอดน้ำได้เพียง 3-7 วัน หรือไม่เกิน 1 สัปดาห์ ฉะนั้น ควรพกพาขวดนํ้าที่สามารถหยิบจับได้ง่ายผลิตด้วยวัสดุอย่างดีประเภทไรทัน โพลีเอสเตอร์ นํ้าหนักเบา ติดตัวไว้
ส่งสัญญาณขอความช่วยเหลือ
ถ้าอยู่ในป่า สามารถอาศัยการจุดไฟเพื่อให้เกิดควันได้ หรือนำสิ่งของขนาดใหญ่ที่มีสี เช่น สีส้ม เพื่อที่เวลามองมาจากด้านบน ทีมช่วยเหลือจะสามารถมองเห็นตำแหน่งของเราได้ แต่หากอยู่ในถ้ำ ถ้าสัญญาณโทรศัพท์เข้าถึงให้พยายามใช้โทรศัพท์ติดต่อขอความช่วยเหลือ แต่ถ้าแบตเตอรี่หมด ให้พยายามอยู่กับที่ที่ปลอดภัย แล้วรอความช่วยเหลือ
แหล่งที่มา : https://www.autoinfo.co.th/article/276124/