กางฟลายชีทอย่างไร ให้ใช้ประโยชน์ได้สูงสุด ?
กางฟลายชีทอย่างไร ? แน่นอนว่าแม้อุปกรณ์จะพร้อมแต่รอยย่นหรือด้านที่ไม่เสมอกันจากการกางตัวของฟลายชีทในรูปแบบต่าง ๆ ก็เป็นปัญหาหนึ่งของผู้ใช้มือใหม่ไม่น้อยทีเดียว รวมไปถึงทิศทางลม ทำเลหรือการสะท้อนของแสงแดด ก็สร้างความลำบากใช้ในการวางตำแหน่งฟลายชีทได้พอสมควร ดังนั้น 4 วิธีต่อไปนี้ จะช่วยให้เราเข้าใจและติดตั้งได้ง่ายมากขึ้น
วิธีที่ 1 แบบ Basic A Frame เป็นแบบที่เห็นได้ทั่วไป ใช้เสา 2 ต้นสำหรับฟลายชีทสี่เหลี่ยมผืนผ้าโดยกางให้ 2 ด้านเท่ากันเป็นโดมรูปสามเหลี่ยม และยึดมุม 4 ด้านเข้ากับสมอลงบนดิน ซึ่งมีข้อดี คือ ช่วยกันลมกันฝนได้เป็นอย่างดี แต่จะมีพื้นที่ใช้สอยที่น้อยลงและอาจมีน้ำขังบริเวณสมอบกได้
วิธีที่ 2 แบบ Basic Lean To ใช้เสา 2 ต้นสำหรับฟลายชีทสี่เหลี่ยมผืนผ้า กางให้ด้านที่มีลมแรงยาวกว่าอีกด้านและทำมุมกัน 30 องศา มีข้อดีคือ กางได้ง่ายแต่สามารถกันลมกันฝนได้เพียงด้านเดียว
วิธีที่ 3 แบบ Dining Fly ซึ่งใช้เสา 2 ต้นและสมอบก 6 – 10 อัน สำหรับฟลายชีทสี่เหลี่ยมผืนผ้าและคางหมู โดยดึงมุมและกางให้มีจั่วหน้า-หลัง มีข้อดีคือ ช่วยเพิ่มพื้นที่และป้องกันน้ำเข้า แต่เป็นแบบที่ต้องใช้ความชำนาญพอสมควร
วิธีที่ 4 แบบ Dining Fly Upgrade ซึ่งใช้เสา 8-10 ต้นและสมอบก 10 – 12 อัน สำหรับฟลายชีทสี่เหลี่ยมผืนผ้าและคางหมู โดยตอกยึดมุมฟลายชีทด้านข้างกับสมอบกให้มีมุมสูงต่ำสลับเป็นฟันปลา ช่วยให้มีพื้นที่กว้างไม่อึดอัด ไม่มีน้ำไหลเข้าด้านใน แต่เป็นแบบที่ประกอบค่อนข้างยาก ใช้เวลานาน
และทั้งหมดนี้ก็เป็นเทคนิคและรูปแบบการกางที่จะช่วยให้เราตัดสินใจเลือกซื้อฟลายชีทพร้อมอุปกรณ์เสริมที่ตอบโจทย์การกางและความต้องการใช้งานของเรามากที่สุดนั่นเอง
แหล่งข้อมูล : https://my-best.in.th/37482